ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว หดตัว ถดถอย หรือมันเป็นเพียงแค่การเล่นคำ?
หลายคนพออ่านคำว่าภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ภาวะเศรษฐกิจหดตัว ภาวะเศรษฐกิจถดถอย ก็จะเข้าใจไปแนวทางเดียวกัน ซึ่งที่จริงแล้วสองคำนี้มีความหมายที่แตกต่างกันอยู่บ้างครับ
- ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว คือ อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจลดลงจากช่วงก่อนหน้าแต่ยังเป็นบวก
ยกตัวอย่างเช่น เมื่อปี 2560 อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจอยู่ที่(GDP) 5% ต่อมาในปี 2561 อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจอยู่ที่(GDP) เป็น 4% ลักษณะนี้ถือว่าเป็นเศรษฐกิจชะลอตัว - ภาวะเศรษฐกิจหดตัว คือ อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจลดลงจากช่วงก่อนหน้าจนติดลบ
ยกตัวอย่างเช่น เมื่อปี 2560 อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจอยู่ที่(GDP) 3% ต่อมาในปี 2561 อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจอยู่ที่(GDP) เป็น -1% ลักษณะนี้ถือว่าเป็นเศรษฐกิจหดตัว - ภาวะเศรษฐกิจถดถอย (Recession) คือ ภาวะที่เศรษฐกิจหดตัวยาวนานโดยวัดจากข้อมูล GDP ที่หดตัวต่อหนึ่ง 2 ไตรมาสขึ้นไป
ยกตัวอย่างเช่น เมื่อปี 2560Q1 อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจอยู่ที่(GDP) -0.5% ต่อมาในปี 2560Q2 อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจอยู่ที่(GDP) เป็น -1% ถือเป็นลบติดต่อกัน 2 ไตรมาสลักษณะนี้ถือว่าเป็นเศรษฐกิจถดถอย
เป็นอย่างไรกันบ้างครับพอจะแยกกันออกกันแล้วใช่ไหมครับว่าลักษณะแบบไหนที่เป็น ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว หดตัว หรือถดถอย ไม่ยากเลยใช่ไหมครับทีนี้เราจะได้ไปคุยกับคนอื่นๆได้แล้วว่าเศรษฐกิจ ณ ตอนนี้เป็นภาวะเศรษฐกิจลักษณะแบบไหน
ที่มา : Bank of Thailand