ว่าด้วยเรื่องภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax หรือ VAT) เมื่อปีก่อนๆเราอาจจะได้ยินว่าจะมีการเพิ่มอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มจากเดิมที่เรียกเก็บจริงอยู่ที่ร้อยละ 7 ปรับขึ้นเป็นเรียกเก็บจริงที่ร้อยละ 10 แต่ในท้ายที่สุดก็ไม่มีการปรับตัวขึ้นของอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มมาจนถึงปัจจุบัน
ที่เกริ่นมาขนาดนี้ผมพยายามจะเล่าและหาเหตุผลว่าทำไมประเทศไทยถึงยังคงอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มอยู่ที่ 7 เปอร์เซ็น แต่ก่อนอื่นมาดูอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มของประเทศเพื่อนบ้านกันก่อนโดยใน ASEAN อัตราภาษีเองนั้นค่อนข้างใกล้เคียงกัน
เราต้องมาเรียบเรียงความคิดกันก่อนว่าผลของการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 10 นั้นส่งผลอย่างไรบ้าง
- ทำให้ค่าครองชีพของประชาชนนั้นสูงขึ้น
- ส่งผลต่อพฤติกรรมการบริโภคของประชาชน
- รัฐบาลอาจมีรายได้เพิ่มขึ้น
- อื่นๆ
เราจะมาพูดถึงประเด็นนี้ว่าการเพิ่มอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มที่เรียกเก็บจริงนั้นส่งผลทำให้รัฐบาลมีรายได้เพิ่มขึ้นจริงไหม?
รัฐบาลอาจมีรายได้เพิ่มขึ้น จากเดิม 100 บาทรัฐบาลได้ 7 บาทแต่ถ้าเป็น 10 เปอร์เซ็นรัฐบาลมีรายได้เป็น 10 บาท เอ๊ะแล้วถ้ามันไม่เป็นแบบนั้นหละ ผมจะอธิบายต่อไปในจากกราฟข้างล่างนี้
จาก Laffer curve โดยที่แกนตั้ง(Y) แทนจำนวนภาษีที่เก็บได้ทั้งหมด ส่วนแกนนอน(X) แทนอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม
ถ้าอัตราภาษีอยู่ T2 รัฐบาลจะจัดเก็บภาษีได้ R2 ถ้ารัฐบาลเพิ่มอัตราภาษีเป็น T3 แน่นอนรัฐบาลเก็บภาษีได้ R3 ซึ่งเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม แต่หากรัฐบาลเพิ่มเป็น T4 จำนวนภาษีที่จัดเก็บได้กลับลดลงเป็น T4
เราคงจะเห็นแล้วว่าพอถึงจุดๆหนึ่งการเพิ่มอัตราภาษีนั้น ไม่สามารถทำให้รายได้ของรัฐบาลนั้นเพิ่มขึ้นแถมยังทำให้ลดลงอีก นี่คงเป็นอีกเหตุผลหลักๆว่าทำไมประเทศไทยยังคงอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มอยู่ที่ร้อยละ 7
ที่มา :